มะเร็งดวงตา ( Eye Cancer ) เป็น มะเร็งชนิดปฐมภูมิกับ Adnexal Tumors ที่สามารถพบได้ที่ส่วนของตาและเบ้าตา คือ Uveal Malignant Melanoma และ Retanoblastoma ถึงแม้ว่ามะเร็งดวงตาที่ส่วนของตาและเบ้าตาจะโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากก็ตาม นอกจากมะเร็งปฐมภูมิและ Adnexal Tumors ที่สามารถพบมะเร็งได้แล้ว มะเร็งชนิดทุติยภูมิที่เกิดขึ้นบริเวณเบ้าตาและตาก็มีเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดวงตา
สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งตา
ผู้ที่เป็นมะเร็งตาอาจพบอาการหรือสัญญาณเตือน ซึ่งอาการที่พบบ่อย ต่อไปนี้
พบก้อนเนื้อบนเปลือกตา
มีจุดดำบนม่านตา
ตาพร่า หรือสูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน
เห็นเงา หรือเส้นแสงกระพริบ
มองเห็นภาพซ้อน
สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือทั้งหมด
สีของดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
อาการปวดตาพร้อมทั้งมีน้ำตาไหล
การมองเห็นจุดเส้นหยัก หรือวัตถุลอย
ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตา
- อายุ : ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกในลูกตาเบื้องต้น อายุโดยเฉลี่ยของการวินิจฉัยประมาณ 55 ปี ซึ่งพบได้น้อยในเด็กและผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป
- เชื้อชาติ : เนื้องอกในลูกตาระยะแรกนั้นพบมากในคนผิวขาว แต่จะพบได้น้อยในคนผิวดำ
- เพศ : เนื้องอกในลูกตามีผลต่อผู้ชายและผู้หญิงจำนวนเท่า ๆ กัน
- ประวัติส่วนตัว : ผู้ที่มีอาการป่วยมีความเสี่ยงสูงในการเกิดเนื้องอกในลูกตา
- ปัจจัยอื่น ๆ : การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าแสงแดดหรือสารเคมีบางชนิดอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในลูกตา
งานวิจัยและการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งดวงตา 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยมะเร็งดวงตาที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีน้อยกว่า 3 ปี
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยมะเร็งดวงตาที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีมากกว่า 3 ปี
ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งตา ระยะเฉียบพลัน
ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสง และการเคมีบำดัดที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรังสีรักษาและส่วนใดของดวงตาผลข้างเคียงที่พบบ่อยบางส่วนมีดังต่อไปนี้
การสูญเสียขนตา
รู้สึกเหนื่อยล้า
อาการบวมชั่วคราว
มีรอยแดงรอบดวงตา
เกิดหมอกหรือมีฝ้าจนมองไม่เห็น
ดวงตาขาดความชุ่มชื้น ( แห้งกร้าน )
และการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งเป็นการรักษาที่พบบ่อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีที่ได้รับการรักษา หรือเกิดขึ้นภายหลังการรักษาเพียงเล็กน้อย และจะสามารถหายเป็นปกติภายหลังหยุดการฉายรังสีไปแล้วสักระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลกระทบแบบเฉียบพลันที่แบ่งได้ตามอวัยวะที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งได้ดังนี้
- เยื่อตาหรือเยื่อบุตา ( Conjunctiva )
เป็นส่วนที่จะแสดงปฏิกิริยาในทันที่หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้ว อาการที่เกิดขึ้น คือ ดวงตาเยื่อจะมีสีแดง ฉ่ำไปด้วยน้ำ ตาแห้ง - บริเวณผิวหนัง
ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีแดงซึ่งอาการจะแสดงให้เห็นเด่นชัดในวันที่ 8 เมื่อได้รับการฉายรังสี และจะแดงชัดมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากได้รับการฉายรังสี - ต่อมน้ำตา ( Lacrimal Glands )
ดังนั้นก่อนที่จะทำการรักษามะเร็งดวงตาแพทย์ต้องทำการอธิบายและบอกถึงผลกระทลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัว เตรียมใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด และผู้ป่วยก็จะสามารถลดอาการข้างเคียงอาจจะเกิดขึ้นให้น้อยลงด้วย
มะเร็งรักษาด้วยการฉายรังสีกระทบต่อการมองเห็น
การฉายรังสีเพื่อทำการรักษา โรคมะเร็ง ที่บริเวณส่วนศีรษะ ลำคอและสมอง ในการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านสายตาและ การมองเห็น เนื่องจากการเกิดเส้นประสาทตาเสื่อมภายหลังการฉายรังสีรักษามะเร็ง ( radiation-induced optic neuropathy / RION ) ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นผลที่มีความรุนแรงค่อยข้างสูงและสามารถเกิดขึ้นได้อย่าง รวดเร็ว ถึงแม้ว่าผลกระทบที่เกิดนี้จะพบได้น้อยมากก็ตาม ดังนั้นก่อนที่จะทำการรักษาแพทย์ต้องทำการกำหนดค่าขอบเขต ( Constraint ) ของส่วน Optic Apparatus เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงข้างต้น ความผิดปกติของสายตาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีแล้วประมาณ 2.5 ปีเป็นต้นไป ซึ่งการประเมินการมองเห็นของผู้ป่วยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- การประเมินโดยใช้ค่า Visual Acutiy ( VA ) คือค่าระยะที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ โดยคนทั่วไปจะสามารถมองเห็นได้ที่ระยะ 100 ฟุต ซึ่งในการรายงานจะรายงานเป็นค่าที่สามารถมองเห็นได้ของผู้ป่วย/ค่าที่คนทั่วไปมองเห็น เช่น 20/100 หมายความว่าผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ที่ระยะ 20 ฟุต เป็นต้น
- การตรวจลานสายตา คือ การตรวจปริมาณหรือระยะที่ผู้ป่วยมะเร็งเห็นได้จริง เทียบกับปริมาณหรือระยะที่ผู้ป่วยมะเร็งควรจะต้องมองเห็นได้
อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทตาจะทำให้เกิดสูญเสีย การมองเห็น ของตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ( Monocular ) แต่ถ้าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นอยู่ใกล้เคียงกับส่วนของ Optic Chiasm จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นของตาทั้งสองข้าง เพราะว่าการเกิดการบาดเจ็บที่บริเวณนี้ที่ตาข้างใดข้างหนึ่งแล้วจะส่งผลกระทบไปสู่ตาอีกข้างหนึ่งได้ด้วยการฉายรังสีรักษามะเร็งแบบ Pitutitary Adenoma จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่ส่วนของ Inferior Central Optic chiasm ซึ่งเมื่ออาการบาดเจ็บนี้เกิดขึ้นผู้ป่วยจะมีการมองเห็นแบบลานตา ( VF ) ซึ่งลักษณะความผิดปกติจะเป็นแบบ Bilateral Upper Outer Quadrant แต่ทว่าถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดกับส่วนของ Proximal Optic Tract จะทำให้ข้างที่เป็น Optic Tract สูญเสีย การมองเห็น ไป แต่ก็จะเกิดขึ้นกับข้างที่เป็น Optic Tract เท่านั้น ส่วนตาอีกข้างจะไม่เกิดผลกระทบนี้
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตาหลังการรักษามะเร็งไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Retina หรือ Optic nerve หรือ Optic หรือ Occipital Lobes ต่างก็สร้างผลกระทบต่อการมองเห็นของดวงตาทั้งสิ้น และการแบ่งระยะของความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการได้รับรังสีเข้าสู่บริเวณ Optic Nerve หรือ Chiasm ก็ไม่สามารถแบ่งออกได้อย่างชัดเจน เพราะว่าปัญหา การมองเห็น ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนี้อาจจะเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่นร่วมด้วยได้ เช่น การเป็นต้อกระจก ภาวะตาแห้ง เป็นต้น แต่เราก็
สามารถระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้
- ตำแหน่งที่มีรอยโรค ( Lesion ) เกิดขึ้นอยู่ที่บริเวณของ Chiasm โดยตรง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ Bilateral Temporal VF
- ตำแหน่งที่มีรอยโรค ( Lesion ) เกิดขึ้นอยู่ที่บริเวณส่วนหลังของ Chiasm จะส่งผลกระทบต่อลานสายตา (VF) ทั้งสองข้างของผู้ป่วย
- ตำแหน่งที่มีรอยโรค ( Lesion ) เกิดขึ้นอยู่ที่ส่วนด้านหน้าของ Chiasm จะส่งผลกระทบทำให้ลานสายตาของผู้ป่วยในข้างที่มีอาการเกิดขึ้น
มะเร็งกับคำนิยาม Volume ของส่วน Optic Apparatus
ตั้งแต่ส่วนหลังของเส้นประสาทตา ( Optic nerve ) ของตรงกลางของ Globe ผ่านมายังส่วนของตรงกลางของ Orbit โดยที่กล้ามเนื้อตาจะพุ่งผ่านขึ้นมา Opticcanals ที่อยู่ในตำแหน่ง Medial ที่มีต่อ Anterior Clinoid Process ของส่วนกระดูกปีกเล็กของกระดูกสฟีนอยด์ ( Lesser Wings ) ในส่วนของ Sphenoid และยังสามารถแบ่งเป็นเส้นประสาททั้งส่วนซ้ายและขวา และตรงกับตำแหน่งของส่วนไขว้เส้นประสาท (Optic Chiasm ) และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ medial Fibers จะทำการข้ามไปยังส่วนของเส้ในประสาทตา ( Optic Tract ) ของตาที่อยู่ในด้านตรงข้าม ซึ่งในตอนที่ Lateral fibers จะคงมีอยู่ที่ Tract ที่อยู่ในส่วนของข้างเดียวกันกับ Optic Chiasm ที่มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับตัวอักษร X ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ในตำแน่งเหนือต่อจาก Sella Turcica และส่วนของเส้นประสาทตาจะพาดผ่านไปส่วนหน้าต่อ Pituitary Stalk ที่อยู่ด้านข้างและมีการล้อมรอบโดย Internal Carotid Arteries ซึ่งจากการทำ Ct หรือ MRI ทให้เห็นว่า Optic Tract อยู่ทางด้านหลังของ Optic Chiasm ก่อนที่ Fibers ที่อยู่อย่างกระจัดกระจายจะมีลักษณะกลืนไปกับส่วนของเนื้อสมอง ซึ่งส่วนของตัว optic Nerve นั้นจะมี ความหนาอยู่ประมาณ 2-5 มิลลิเมตรเท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นขนาดที่บางมาก ดังนั้นในการทำ MRI เพื่อที่จะได้เห็นอย่างชัดเจนใน T1 และ T2 แล้ว ควรตัดให้มีระยะน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรจะเป็นระยะที่ดีที่สุด เพราะจะสามารถเห็นได้ตลอดทั้งแนวของส่วน Optic Apparatus ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำการ Contour อย่างต่อเนื่องเพราะว่าถ้าหากมีการพลาดช่วงใดช่วงหนึ่งไปแล้วจะทำให้การประมวลผล Dose
Volume Histogram มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วย
Dose-Volume Data
พบว่าจากการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดสภาวะ Radiation induced Optic Neuropathy ( RION ) เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทีทำการรักษาด้วยการฉายรังสีทั้งที่ทำการฉายแบบ Single fraction และแบบ Multiple fraction ซึ่ง
ผู้ป่วยมะเร็งจะมีปัญหาทางด้านสายตาและการมองเห็น หรืออาจทำให้สูญเสียการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เนื่องจากเส้นประสาทตาเกิดการเสื่อมหลังจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งที่บริเวณส่วนศีรษะ ลำคอและสมอง